สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบประเมิน มีสถานภาพเป็น ช่างไฟฟ้า ร้อยละ 40 และครู/อาจารย์/นักวิชาการ ร้อยละ 60 เป็นเพศชาย ร้อยละ 80 และเพศหญิง ร้อยละ 20 มีอายุอยู่ระหว่าง 20-29 ปี จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด
ประสิทธิภาพของผู้ทดสอบใช้งานสิ่งประดิษฐ์ มี 7 ด้าน คือ ด้านความปลอดภัยในการใช้งาน ด้านความสะดวกสบายในการปิด-เปิดปั้มน้ำ ด้านความสวยงาม รูปร่าง น้ำหนัก ด้านประหยัดและคุ้มค่า ด้านการนำไปใช้งานได้จริง ด้านประสิทธิภาพในการใช้งาน ด้านความเป็นไปได้ในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ ซึ่งความพึงพอใจของผู้ทดสอบ อยู่ในระดับ มาก (x ̅= 4.23) โดยด้านความปลอดภัยในการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มาก (x ̅= 4.60) ส่วนด้านประสิทธิภาพในการใช้งานอยู่ในระดับ มาก (x ̅= 4.00)
จากผลการวิจัย ด้านความสะดวกสบายใน
การปิด-เปิดปั้มน้ำ ผู้ทดสอบใช้งานสิ่งประดิษฐ์ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และทดสอบใช้งานสิ่งประดิษฐ์ได้มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด และค่าเฉลี่ยทั้ง 7 ด้าน ของสิ่งประดิษฐ์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยคือ 4.23 ซึ่งอยู่ในระดับ มาก เป็นไปตามสมมติฐานที่ต้องไว้
ผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผลการวิจัยที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เพียงจำนวน 10 คนเท่านั้น ผู้ที่จะนำผลวิจัยครั้งนี้ไปใช้ ต้องคำนึงถึงขนาดกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่จะวิจัยในครั้งนั้น ๆ ด้วย
1. กลุ่มตัวอย่างต้องมีความหลากหลายและมีจำนวนมากกว่าการวิจัยครั้งนี้
2. ปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ ให้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
3. สัญญาณในจันทบุรีค่อนข้างต่ำใช้ได้แค่ในอำเภอเมืองและอำเภอใกล้ๆและยังมีการติดต่อสื่อสารระหว่างสัญญาณกับบอร์ดในบางครั้ง เนื่องจากอยู่ในช่วงพัฒนาและขยายโครงข่าย